ศูนย์วิจัย PRO-Green ต้องการเป็น “กระจกส่องนโยบายให้กับรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจสีเขียว” เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงนโยบายที่เหมาะสม จึงดำเนินการจัดทำชุดความรู้ด้านเศรษฐกิจสีเขียว ในรูปแบบของหนังสือฉบับพกพา จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้
โดย รศ.ดร. โสภารัตน์ จารุสมบัติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การวิเคราะห์วิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย และเพื่อสำรวจองค์ความรู้ด้านนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวโดยรวบรวม แนวคิด คำนิยาม ของเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงการศึกษาองค์ความรู้ด้านนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวในต่างประเทศต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างที่ดี แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสถานะของนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศไทย เพื่อทำการวิเคราะห์ช่องว่างทางนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ประเทศไทยควรต้องดำเนินการเพิ่มเติมต่อไป
โดย ผศ.ดร. อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อเป็นเครื่องมือประเมินการเติบโตสีเขียวของประเทศไทย โดยการสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวที่มีการจัดในต่างประเทศ หรือ โดยองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย โดยจะนำเสนอหลักและแนวคิดในการกำหนดตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวที่เหมาะสมของประเทศไทย รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวในระดับประเทศ ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับเมือง และระดับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการติดตามสถานะเศรษฐกิจสีเขียว และเป็นเครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์เชิงนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศไทย
3. การค้าระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาความตกลงว่าด้วยสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม
โดย ผศ. สิทธิกร นิพภยะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อวิเคราะห์บทบาทการค้าระหว่างประเทศในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ผ่านความตกลงเปิดเสรีการค้าทั้งระดับพหุภาคี (องค์การการค้าโลก) ตลอดจนระดับภูมิภาคและทวิภาคี โดยเฉพาะความร่วมมือตามความตกลงว่าด้วยสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม
4. ภาคเกษตรไทย บนเส้นทางของเศรษฐกิจสีเขียว และการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดย อาจารย์ นนท์ นุชหมอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การศึกษาสถานการณ์ด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับโลก และเชื่อมโยงแนวความคิดระหว่างเกษตรอินทรีย์ในมิติการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการเชิงสถาบัน และมาตรการทางสังคม
5. นวัตกรรม เทคโนโลยี กับ การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว
โดย ผศ.ดร.ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อนำเสนอช่องว่างทางนโยบายด้านเทคโนโลยีสำหรับการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทย และเชื่อมโยงมุมมองของทฤษฎีการพัฒนาเทคโนโลยี เข้ากับสภาพการณ์ ความสำคัญ และ ความเร่งด่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อที่จะวิเคราะห์ประเมินสถานภาพ ทางเลือก และ ข้อเสนอแนะเชิงมาตรการทางนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อที่จะรองรับเป้าหมายของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
