High Level Panel for a Sustainable Ocean Economy (Ocean Panel) ได้ตีพิมพ์รายงานล่าสุด “Ocean Finance: Financing the Transition to a Sustainable Ocean Economy” ซึ่งได้ระบุถึง การลดช่องว่างทางการเงินมหาสมุทร (Blue Finance Gap) จำนวน 7 วิธี เพื่อให้มั่นใจว่า การกระจายผลประโยชน์มีความเท่าเทียมกัน บนพื้นฐานของ “เศรษฐกิจมหาสมุทรอย่างยั่งยืน” (Sustainable Ocean Economy) ดังนี้
- การสร้างและการดำเนินงานแนวทางและหลักการการลงทุนแบบใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงการจัดการและการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศมหาสมุทรไปในทิศทางที่ดีขึ้น
- การสร้างความเข้มแข็งเกี่ยวกับความรู้ ข้อมูล และศักยภาพ ของสภาพแวดล้อมและการเงินมหาสมุทรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุน โดยรัฐบาลและหน่วยงานทุกระดับมีบทบาทที่สำคัญในการออกกฎเกณฑ์และนโยบายที่มีประสิทธิภาพและเสถียรถาพ
- การกระตุ้นให้เกิดกลไกการลงทุนที่รวบรวมเงินทุนให้เปล่าและเงินกู้แบบผ่อนปรน จากองค์กรการกุศลและสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา
- การสำรวจและสร้างเครื่องมือและกลไกการเงินรูปแบบใหม่ ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมในมหาสมุทรที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ มีการมีส่วนรวม และมีความยั่งยืน ซึ่งสามารถเข้าถึงชุมชนในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะผู้หญิง เยาวชน และกลุ่มชนชายขอบ รวมทั้งลดการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรมหาสมุทร
- การพัฒนาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) เพื่อไม่สนับสนุนกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตรายต่อมหาสมุทร เช่น การประมงที่ผิดกฎหมาย และการสร้างมลพิษในมหาสมุทร เป็นต้น รวมทั้งเพื่อจูงใจในการสร้างพฤติกรรมอย่างยั่งยืนกับมหาสมุทร
- การส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยให้บริการเฉพาะลูกค้าหรือโครงการ ที่อยู่บนหลักการ “เศรษฐกิจมหาสมุทรอย่างยั่งยืน” เท่านั้น
ที่มา: https://www.wri.org/blog/2020/10/7-ways-bridge-blue-finance-gap